เมนู

อรรถกถาบุคคลผู้เปรียบเทียบด้วยลวาหก 4 อย่าง


บทว่า "วลาหกา" แปลว่า ก้อนเมฆ.
บทว่า "คชฺชิตา" แปลว่า ฟ้าคำรามแล้ว. บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัย
ในข้อนี้ว่า ขึ้นชื่อว่าฟ้าคำรามแล้วฝนไม่ตกย่อมเป็นบาป เพราะว่ามนุษย์ทั้ง
หลายคิดว่า เมื่อใดฟ้าร้องแล้ว ฝนก็จักงาม จึงพากันนำพืชออกหว่าน ครั้น
เมื่อฝนไม่ตก พืชที่มีอยู่ในนานก็ฉิบหายไปในนานั่นแหละ พืชที่มีอยู่ในบ้านก็
ฉิบหายไปในบ้านนั่นแหละ เพราะฉะนั้นคราวนั้นนั้นแหละทุพภิกขภัยย่อมมี
จึงชื่อว่าเป็นบาป.
แม้ภาวะที่ฟ้าไม่ร้อง แต่ฝนตกก็เป็นบาปนั่นแหละ เพราะว่ามนุษย์
ทั้งหลายย่อมกระทำการหว่านพืชในนาลุ่มนั่นเทียวด้วยคิดว่า เวลานี้ฝนจักแล้ง
ทีนั้นฝนก็เกิดตกขึ้น ได้ยังพืชทั้งหลายให้ถึงมหาสมุทร ในกาลนี้ทุพภิกขภัย
นั่นแหละย่อมมี. แต่ว่าภาวะที่ฟ้าร้องแล้วฝนตก นับว่าเป็นความเจริญ เพราะ
ว่าเวลานั้น เป็นเวลาที่มีภิกษาหาได้ง่าย. ภาวชะที่ฟ้าไม่ร้อง ฝนก็ไม่ตก ชื่อว่า
เป็นบาปหนักทีเดียว.
ข้อว่า "ภาสิตา โหติ โน กตฺตา" ความว่า บุคคลกล่าวว่า "บัดนี้
ข้าพเจ้าจักบำเพ็ญคันถธุระ หรือจักบำเพ็ญวิปัสสนาธุระ นั่นแหละ แต่ว่าไม่
ถือเอาอุเทศและไม่เจริญกรรมฐาน.
ข้อว่า "กตฺตา โหติ โน ภาสิตา" ความว่า บุคคลไม่กล่าวว่า
บัดนี้ข้าพเจ้าจักบำเพ็ญคันถธุระ หรือจักบำเพ็ญวิปัสสนาธุระ แต่เมื่อถึงเวลา
แล้ว เขาย่อมยังประโยชน์นั้นให้สำเร็จ. บัณฑิตพึงทราบบุคคลนอกจากนี้
โดยนัยนี้ ก็คำนั้นแม้ทั้งหมดท่านกล่าวไว้สำหรับบุคคลผู้ถวายปัจจัยเท่านั้น
จริงอยู่ทายกคนหนึ่ง นิมนต์พระสงฆ์ด้วยกล่าวว่า "ข้าพเจ้าจักถวายทานใน